วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2555


ความหมายของนวัตกรรมด้านการเรียนการสอน
        นวัตกรรม หรือ นวกรรม ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 แปลว่า การก่อสร้าง วงการศึกษานำคำนี้มาใช้ในความหมายของ การทำขึ้นใหม่ หรือ สิ่งที่ทำขึ้นใหม่ ซึ่งได้แก่ แนวคิด แนวทาง ระบบ รูปแบบ วิธีการ กระบวนการ สื่อและเทคนิคต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ซึ่งได้รับการคิดค้นและจัดทำขึ้นใหม่เพื่อช่วยแก้ปัญหาต่างๆทางการศึกษา
     นวัตกรรมเป็นสิ่งใหม่ที่ทำขึ้น ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำหรือสิ่งประดิษฐ์ต่างๆดังนั้นนวัตกรรมด้านการเรียนการสอนจึงอาจมีลักษณะเป็นแนวคิดหรือวิธีการหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆที่สามารถนำมาใช่ในการจัดการเรียนการสอน อย่างไรก็ตาม ความใหม่ มิใช่เป็นคุณสมบัติประการเดียวของนวัตกรรม ถ้าเป็นเช่นนั้น ของทุกอย่างที่เข้ามาใหม่ๆก็เป็นนวัตกรรมทั้งสิ้น นวัตกรรมไม่ว่าจะเป็นด้านใด จำป็นต้องมีคุณสมบัติที่สำคัญดังนี้
1.เป็นสิ่งใหม่ ซึ่งมีความหมายในหลายลักษณะด้วนกัน ได้แก่
1.1  เป็นสิ่งใหม่ทั้งหมดหรือใหม่เป็นบางส่วน
1.2  เป็นสิ่งใหม่ที่ยังไม่เคยมีการนำมาใช้ในที่นั้น
1.3  เป็นสิ่งใหม่ในช่วงเวลาหนึ่ง
2.เป็นสิ่งใหม่ที่กำลังอยู่ในกระบวนการพิสูจน์ทดสอบว่าจะใช้ได้ผลมากน้อยเพียงใดในบริบทนั้น
3.เป็นสิ่งใหม่ที่ได้รับการยอมรับนำไปใช้
4.เป็นสิ่งใหม่ที่ได้รับการยอมรับนำไปใช้บ้างแล้ว
                ลักษณะของนวัตกรรม
1.เป็นนวัตกรรมที่ไม่ซับซ้อนและไม่ยากจนเกินไป
2.เป็นนวัตกรรมที่ไม่เสียค่าใช้จ่ายแพงจนเกิดไป
3.เป็นนวัตกรรมที่สำเร็จรูป นวัตกรรมที่อำนวยความสะดวกในการใช้
4.เป็นนวัตกรรมที่ไม่กระทบกระเทือนต่อบริบทเดิมมากนัก
5.เป็นนวัตกรรมที่มีคนเกี่ยวข้องไม่มากนัก
6.เป็นนวัตกรรมที่ให้ผลชัดเจน นวัตกรรมที่ส่งผลเป็นรูปธรรมเห็นได้ชัดเจน
                ระดับการยอมรับนวัตกรรม
การยอมรับนวัตกรรมนั้นมีอยู่ 5 ระดับคือ
1.ระดับการรับรู้
2.ระดับการสนใจ
3.ระดับการชั่งใจ
4.ระดับการทดลองใช้
            การพัฒนานวัตกรรมด้านการเรียนการสอน
          การพัฒนานวัตกรรมด้านการเรียนการสอนโยทั่วไปนั้นมีกระบวนการหลักๆที่ดล้ายคลึงกันดังนี้

1.การระบุปัญหา (problem) ความคิดในการพัฒนานวัตกรรมส่วนใหม่จะเริ่มต้นที่การมองเห็นปัญหาใน    เรื่องนั้น
2.การกำหนดจุดมุ่งหมาย (objective) เมื่อระบุปัญหาได้ชัดเจนแล้ว ขั้นต่อไปก็คือการกำหนดจุดมุ่งหมายในการพัฒนานวัตกรรม
3.การศึกษาข้อจำกัดต่างๆ (constraints) ก่อนที่จะมีการประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรมต่างๆขึ้นมา
4.การประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรม (innovation) ได้แก่ การแสวงหาทางเลือกในการแก้ปัญหา ซึ่งต้องอาศัยความรู้ประสบการณ์ ข้อมูล และความคิดสร้างสรรค์ของผู้ประดิษฐ์คิดค้น
5.การทดลองใช้ (experimentation) เมื่อคิค้นหรือประดิษฐ์นวัตกรรมได้แล้วขั้นที่สำคัญและจำเป็นมากก็คือการทดลองใช้นวัตกรรมนั้น
6.การเผยแพร่ (dissemination) เมื่อแน่ใจแล้วว่านวัตกรรมที่สร้างขึ้นมีคุณภาพและประสิทธิภาพตามที่ต้องการนวัตกรรมนั้นก็พร้อมที่จะได้รับการเผยแพร่ให้เป็นที่รู้จักและยอมรับนำไปใช้กันอย่างแพร่หลาย
7.การยอมรับหรือต่อต้านนวัตกรรมนั้น เมื่อนวัตกรรมได้รับการเผยแพร่ผ่านไปประยะเวลาพอสมควร นวัตกรรมนั้นจะได้รับการพิสูจน์อย่างแท้จริงว่าได้รับการยอมรับในระดับใด
นวัตกรรมเกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษา
      ความก้าวหน้าของโลกทางด้านเทคโนโลยีขั้นสูงโดยเฉพาะโทรคมนาคมทำให้เกิดนวัตกรรมเกี่ยวกับการศึกษาขึ้นจำนวนมาก และแพร่หลายอย่างรวดเร็วดังนี้
     1.โทรศัพท์เพื่อการศึกษา คือการใช้โทรศัพท์ในการให้ความรู้แก่ผู้เรียนในรูปแบบต่างๆเช่นการใช้โทรศัพท์เพื่อการสอนแบบบรรยาย(telecture)
     2.โทรประชุมเพื่อการศึกษาคือการจัดการประชุมหรือการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนและผู้สอนที่อยู่ต่างสถานที่กันสามรถเรียนหรือร่วมอภิปรายกันได้โดยการใช้ระบบโทรศัพท์ร่วมกับอุปกรณ์เครื่องขยายเสียง
     3.ดาวเทียมเพื่อการศึกษาคือการส่งข่าวสารความรู้หรือรายการเพื่อการสอนต่างๆไปยังผู้ที่อยู่ห่างไกลในท้องถิ่นทุรกันดารที่ยากแก่การคมนาคมติดต่อ
    4.คอมพิวเตอร์การศึกษาปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้กลายเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการทำงานในทุกด้านในด้านการเรียนการสอนได้มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้อย่างกว้างขวาง
       4.1 การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการจัดการเรียนการสอน(Computer- Managed Instruction หรือ CMI)
       4.2 การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน(Computer-Assisted Instructionหรือ CAI)
       4.3 อินเทอร์เน็ต(Internet)
     นวัตกรรมที่ได้รับการเผยแพร่จะได้รับการยอมรับนำไปใช้มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับปัจจัยและองค์ประกอบหลายอย่างกาลเวลาเท่านั้นที่จะเป็นเครื่องพิสูจน์ว่านวัตกรรมใดจะคงอยู่นวัตกรรมใดจะสลายไป
สรุป
           นวัตกรรมด้านการเรียนการสอนหมายถึงแนวคิดวิธีการหรือสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นสิ่งใหม่ๆที่สามารถนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อแก้ปัญหาและเพิ่มประสิทธิภาพทางการเรียนการสอนนวัตกรรมอาจเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมดหรือใหม่เพียงบางส่วนหรือใหม่ในบริบทหนึ่งหรือในช่วงเวลาหนึ่งก็ได้สิ่งที่เป็นนวัตกรรมอาจเป็นสิ่งใหม่ที่กำลังอยู่ในกระบวนการพิสูจน์ทดสอบหรือได้รับการยอมรับนำใช้แล้วแต่ยังม่แพร่หลายหรือยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานปกติหากมีการยอมรับนำไปใช้อย่างเป็นปกติในระบบงานแล้วจะไม่ถือว่าสิ่งนั้นเป็นนวัตกรรมอีกต่อไป